การเลี้ยงโคขุนคืออะไร การเลี้ยงโคขุน หมายถึง การเลี้ยงโคให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยได้รับค่าอาหารที่ค่อนข้างดีอย่างเต็มที่ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง คือนอกจากจะให้โคกินอาหารหยาบ (หญ้าหรือฟาง) แล้วยังมีการให้กินอาหารข้น (อาหารเสริม) เพิ่มเติมอีกด้วย ทำให้โคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้เนื้อที่มีคุณภาพดี |
ข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลี้ยงโคขุน การที่จะเลี้ยงโคขุนเพื่อให้ได้กำไรนั้น ท่านจะต้องพิจารณาและตอบคำถามต่างๆ ต่อไปนี้ว่าท่านจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้หรือไม่ ถ้าท่านแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ ท่านก็จะสามารถเลี้ยงโคขุนได้ โดยไม่ขาดทุน คือ
|
ประเภทและธุรกิจการเลี้ยงโคขุน
เลี้ยงโคขุนด้วยข้าวโพด กำไร 3 ต่อ ที่ 'ครบุรี'คุณสุรพรหมเล่าให้ทีมงานฟังว่า เดิมครอบครัวทำอาชีพปลูกข้าวโพดหวานในที่ดิน 19.37 ไร่ ที่ ส.ป.ก.จัดสรรให้เข้าทำกิน หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งตลาดแล้ว เห็นว่ามีต้นข้าวโพดเหลือเป็นจำนวนมาก จะไถกลบก็เสียดาย จึงเกิดแนวคิดนำต้นข้าวโพดหวานมาใช้เป็นวัตถุดิบเลี้ยงโคเนื้อ เมื่อทดลองแล้วได้ผลดีจึงทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และยังเป็นการใช้เศษวัสดุทางการเกษตรที่มีมากในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวอีกทางหนึ่ง ข้าวโพดหวาน เป็นพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้น หนึ่งปีสามารถปลูกได้ถึง 3 ครั้ง ใช้ต้นทุนไร่ละ 5,500-6,000 บาท ได้ผลผลิตประมาณ 2 ตัน/ไร่/รอบการผลิต ขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางในตลาดสุรนคร จังหวัดนครราชสีมา ราคากิโลกรัมละ 5.50 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วมีกำไรเหลือไม่น้อยกว่า 5,000 บาท/ไร่/รุ่น หรือประมาณ 285,000 บาท/ปี หลังเก็บเกี่ยวฝักข้าวโพดหวานป้อนตลาดแล้ว ต้องรีบตัดต้นข้าวโพดก่อนที่ต้นจะแห้งหรือตัดให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งจะได้ต้นที่มีความสดและมีระดับโปรตีน สูง พื้นที่ 1 ไร่ จะได้น้ำหนักประมาณ 2 ตัน จากนั้นนำมาเข้าเครื่องสับบดแล้วนำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงโคขุนลูกผสมบรามันห์ที่มีอยู่กว่า 60 ตัว โดยให้กินเต็มที่ โคจะมีอัตราการแลกเนื้อดี ใช้ระยะเวลาขุนประมาณ 4-6 เดือน ก็สามารถขายโคขุนให้กับพ่อค้าหรือเขียงเนื้อในพื้นที่ได้ ราคากิโลกรัมละ 45 บาท ได้กำไรประมาณ 700 บาท/ตัว/เดือน หลังจากทยอยขายโคขุนออกไปแล้ว ก็จะตระเวนหาซื้อโคเพศผู้อายุ 2-3 ปี เข้ามาขุนใหม่อยู่เรื่อย ๆ เพื่อรักษาตลาดไว้ “ระยะ 4-5 ปีที่ดำเนินธุรกิจนี้มาถือว่าพออยู่ได้และเลี้ยงตัวรอด ทั้งข้าวโพดและโคเนื้อต่างเกื้อกูลกัน ซึ่งโคขุนได้กินอาหารที่มีคุณค่าสูง ขณะเดียวกันก็ใช้มูลโคเป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินในแปลงปลูกข้าวโพดหวาน สามารถช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ค่อนข้างมาก ถึงแม้ปุ๋ยจะแพงก็ไม่มีปัญหา” คุณสุรพรหมยังบอกอีกว่า เนื่องจากพื้นที่ตำบลมาบตะโกเอนและตำบลใกล้เคียง มีผู้ปลูกข้าวโพดหวานกว่า 400 ราย ทำให้มีต้นข้าวโพดเหลือเป็นจำนวนมาก ตนจึงคิดนำวัตถุดิบส่วนที่เหลือมาผลิตเป็นข้าวโพดหมัก เพื่อเก็บไว้เป็นอาหารเลี้ยงโคขุนในช่วงที่ต้นข้าวโพดสดหายาก สำหรับการผลิตข้าวโพดหมักนั้นทำง่าย ๆ ภายหลังบดสับต้นข้าวโพดแล้ว ก็นำมาบรรจุในถุงพลาสติกใสน้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม ซ้อนด้วยกระสอบปุ๋ยอีกหนึ่งชั้น จากนั้นใช้เทคนิคดูดอากาศออกคล้ายระบบสุญญากาศ แล้วต้องรัดปากถุงทั้งสองชั้นให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 21 วัน ขบวนการหมักจะสมบูรณ์และได้ข้าวโพดหมักที่มีคุณภาพดี มีกลิ่นหอมซึ่งโคชอบกินมากกว่าสภาพสด การทำข้าวโพดหมักแบบดูดอากาศออก มีข้อดีอีกอย่างหนึ่ง คือ สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 3 เดือน ปัจจุบันมีกำลังการผลิตข้าวโพดหมัก 15 ตัน/วัน ส่วนหนึ่งกักตุนไว้ใช้เลี้ยงโคขุนในฟาร์ม และที่เหลือส่งขายให้กับสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์ อำเภอขามทะเลสอ และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในละแวกใกล้เคียง น้ำหนัก 30 กิโลกรัม ราคากระสอบละ 45 บาท ช่วยเสริมรายได้อีกทางหนึ่งด้วย หากสนใจที่จะศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ การปลูกข้าวโพดหวาน การผลิตข้าวโพดหมักใช้เลี้ยงโคขุน สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดินตำบล มาบตะโกเอน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา โทร. 08-1966-9306 หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา โทร. 0- 4424-1345, 0-4424-3991 |
เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม เทคนิคการเลี้ยงสุกรโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ ประเทศเกาหลี (อ้างโดย ดร.อานัติ ตันโช 2547 จากหนังสือ เกษตรกรรมธรรมชาติ ) สถาบันเกษตรธรรมชาติเกาหลี Janong ได้แนะนำให้เกษตรกรเลี้ยงแม่สุกรครั้งละ 30 แม่เพื่อผลิตลูก 600 ตัว/ปี การจัดการฟาร์มแบบเกษตรธรรมชาติทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 40 % แม่บ้าน 1 คนสามารถเลี้ยงสุกรได้ 30 ตัว โดยใช้อาหารที่ทำเอง 60-70 % เป็นการผสมผสานการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มเดียวกัน ใช้สิ่งเหลือใช้จากการเกษตรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด คอกสุกรจากระบบนี้ ไม่ต้องทำความสะอาดและล้างออกไป เป็นระบบการจัดการหมุนเวียนที่เกิดขึ้นในฟาร์มอย่างสมบรูณ์ มูลสุกรจะถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นอาหารชั้นดีของสุกรและปุ๋ยชั้นเยี่ยมจากกระบวนการหมักของจุลินทรีย์ การเลี้ยงสุกรในคอกที่ไม่แออัด ปล่อยแบบธรรมชาติสัมผัสดิน แสงแดด อากาศบริสุทธิ์ มีหญ้าสด พืชผักเป็นอาหารธรรมชาติที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุธรรมชาติทำให้ลำใส้สุกรมีสุขภาพที่ดี ย่อยและดูดซึมอาหารได้ดี สุกรแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรคโดยธรรมชาติ ทำให้ไม่ต้องใช้ยาเคมีในการป้องกันและรักษาโรคเหมือนการเลี้ยงสุกรในฟาร์มการค้าทั่วๆไป ซึ่งตรงตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพสัตว์ล่วงหน้าดีกว่าการรักษา positive animal health and welfare นอกจากนี้คุณภาพเนื้อสุกรจะมีสีชมพู มีปริมาณไขมันในสัดส่วนที่พอเหมาะ ชุ่มน้ำและมีกลิ่นหอมเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม กรณีศึกษาเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี (อ้างอิงจากปศุสัตว์อำเภอสร้างคอม สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี) โดยมีข้อมูลพื้นฐานจากกลุ่มเลี้ยงหมูหลุมของผู้ใหญ่สุวรรณ ศรีสุพัฒน์ บ้านศรีชมชื่น หมู่ 6 ตำบลบ้านหินโงม อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มแปลงสาธิตเกษตรกรรมธรรมชาติ สนับสนุนจากมูลนิธิศุภนิมิตรแห่งประเทศไทย โดยการเรียนรู้จากจังหวัดเชียงราย จากการดำเนินงานในรูปกลุ่มเกษตรกรในการเลี้ยงหมูหลุมพบว่า สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในชนบทได้เป็นอย่างดี และเป็นการใช้ทรัพยากรอาหารสัตว์ในท้องถิ่น ลดการใช้อาหารสำเร็จรูปจากท้องตลาดได้เป็นอย่างดี ทำให้เกษตรกรพึ่งพาตนเอในการผลิตและการบริโภคผลผลิตจากชุมชน ดังนั้นในปี งบประมาณ 2548 สำนักงานปศุสัตว์อุดรธานี จึงได้ของบประมาณสนับสนุนการเลี้ยงหมูหลุมในหมู่บ้าน โดยใช้งบประมาณบูรณาการผู้ว่าราชการจังหวัด ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยง 1.การสร้างโรงเรือน เลือกพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง อากาศถ่ายเทสะดวก ปลูกสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น โครงไม้ไผ่ หลังคาหญ้าคา ขนาด กว้าง x ยาว x สูง = 4 x5x1.8 เมตร เลี้ยงคอกละ 20 ตัว หลังคาควรมีแสงรอดผ่าน หรือมีพื้นที่รับแสงได้ 1/3 ของพื้นที่คอกตลอดทั้งวัน จะทำให้มีการฆ่าเชื้อด้วยแสงอาทิตย์ทุกวัน 2.การเตรียมพื้นคอก 2.1ขุดหลุมลึก 90 ซม.ความกว้างยาวขึ้นอยู่กับจำนวนหมูที่จะเลี้ยง โดยมีพื้นที่ต่อตัว 1- 1.5 เมตรต่อตัว 2.2 ก่ออิฐให้รอบทั้ง 4 ด้าน และให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร ไม่ต้องเทพื้น 2.3 วัสดุเตรียมพื้นคอก โดยจัดทำเป็น 3 ชั้นๆละ 30 ซม. โดยใช้วัตถุดิบดังนี้ - แกลบดิบ 4,300 กิโลกรัม - มูลโคหรือกระบือ 320 กิโลกรัม - รำอ่อน 185 กิโลกรัม - น้ำหมักจุลินทรีย์จากพืชสีเขียว1 ลิตร ซึ่งจะได้แบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลคติค วิธีทำพื้นคอก 1.ใส่แกลบสูง 30 ซม. 2.ใส่มูลโค-กระบือ 8 ถุงปุ๋ย และรำข้าว 8 ถุงปุ๋ย ให้ทั่ว 3.ผสมน้ำหมักจุลินทรีย์ ขนาด 2 ช้อนโต๊ะละลายน้ำ 10 ลิตรรดให้ทั่วพอชุ่ม 4.ชั้นต่อไปทำเหมือนเดิมจนครบ 3 ชั้น ทิ้งไว้ 7 วันปล่อยให้เกิดการหมักของ จุลินทรีย์ จึงนำลูกหมูหย่านมมาเลี้ยงเมื่อเลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งให้เติมวัสดุรองคอกด้วย เสริมเดิมให้เต็มเสมอ 3. พันธุ์สุกร ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่ไว้ใจได้ และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี หย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 เดือน น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม 4. อาหารและวิธีการเลี้ยง 4.1 ในระยะเดือนแรก ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด สำหรับสุกรหย่านมมีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับรำโรงสีชาวบ้าน ในอัตรา 1: 3 ให้กิน 3 เวลา เช้า กลางวัน และเย็น เป็นเวลา 15 วันแรก หลังจากนั้นลดอาหารสำเร็จรูปลงจนครบ 1 เดือน ไม่ต้องให้อาหารสำเร็จรูปอีกต่อไป โดยในกลางวันให้กินอาหารเสริมประเภทพืช ผัก และถ้ามีกากน้ำตาลให้หั่นพืชผักหมักกับกากาน้ำตาลทิ้งไว้ 1 วัน แล้วให้กินจะเป็นการดียิ่ง 4.2 ในระยะเดือนที่ 2 จนถึงจำหน่าย งดให้อาหารสำเร็จรูป เกษตรกรนำกากปลาร้าต้มกับรำข้าว หรือใช้ รำปลายข้าว ในอัตราส่วน 1:1 และเศษพืชผักเป็นอาหารเสริม โดยมีระยะเวลาเลี้ยง 3-3 เดือนครึ่ง ได้น้ำหนักประมาณ 80-100 กก. คำแนะนำการให้อาหาร น้ำหนักหมู ชนิดอาหาร ปริมาณ กก/ตัว/วัน อาหารเสริม 12-20 กก. อาหารสำเร็จรูป 1.0-1.5 หญ้าสดหรือเศษผัก 20-35 กก. รำ+ ปลายข้าว 1.7- 2.0 หญ้าสดหรือเศษผัก 35-60 กก. รำ+ ปลายข้าว 2.5- 3.0 หญ้าสดหรือเศษผัก 60-100 กก. รำ+ ปลายข้าว 3.5 -4.0 หญ้าสดหรือเศษผัก 5. การดูแลอื่นๆ การคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ด้วยการเลี้ยงปล่อยให้หมูได้มีโอกาสสัมผัสดิน สุกรได้แสดงออกตามพฤติกรรม ป้องกันแสงแดดมากเกินไป ลมโกรกพอดี สุมไฟไล่ยุงในฤดูฝน 6. ต้นทุนการผลิต 6.1 ค่าโรงเรือน รวมอุปกรณ์ การให้น้ำและอาหาร เงิน 3,000 บาท 6.2 ค่าก่อกำแพงอิฐบล็อกภายในหลุมทั้ง 4 ด้าน เงิน 1,050 บาท 6.3 ค่าพันธุ์หมู 20 ตัวๆละ 1.200 บาท เงิน 24,000 บาท 6.4 ค่าจัดทำวัสดุรองพื้น เงิน 2,080 บาท ได้แก่ แกลบ 1 คันรถ เงิน 300 บาท มูลโค- กระบือ 24 กระสอบๆละ 10 บาท เงิน 240 บาท รำข้าว 576 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน 1,440 บาท สารจุลินทรีย์ 100 บาท 6.5 ค่าอาหารหมู เงิน 6,575 บาท - อาหารสำเร็จรูป 150 กก. ๆละ 10 บาท เงิน 1,500 บาท - รำข้าว 1,750 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน 4,375 บาท - กากปลาร้า เงิน 100 บาท - ปลายข้าว 120 กก. ๆละ 5.00 บาท เงิน 600 บาท 6.6 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และหล่อลื่นในการจัดอาหารเสริม เงิน 2,000 บาท 6.7 ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงิน 400 บาท (ไม่ได้คิดค่าแรงงาน) รวมต้นทุน 39,105 บาท 7. รายรับ 7.1 จำหน่ายสุกร 20 ตัวๆละ 3,000 บาท เงิน 60,000 บาท 7.2 ปุ๋ยชีวภาพที่ได้ 10 ตันๆละ 2,000 บาท เงิน 20,000 บาท รวมรับ 80,000 บาท ผลลัพท์จากการเลี้ยงหมูหลุม การเลี้ยงหมูหลุม เป็นการผลิตที่เหมาะสมกับการทรัพยากรและการบริโภค ในท้องถิ่นทำให้เศรษฐกิจฐานล่างมีความเข้มแข็ง สนับสนุนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม พึ่งพาการผลิตการบริโภคในท้องถิ่นเกิดความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชน ด้านสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ครอบครัวมีงานทำหมุนเวียนตลอด ก่อเกิดรายได้ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการผลิตผสมผสานปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ใช้ทรัพยากร ผืนดินให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต ใช้วงจรชีวภาพหมุนเวียนให้เกิดการผลิตหลายรอบ ไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ การเลี้ยงหมูที่ไม่เครียดทำให้มีสุขภาพดี และการเลี้ยงด้วยหญ้าจะทำให้เนื้อสัตว์มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด โอไมก้า 3 ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และไขมันอุดตันในหลอดเลือดสูง และผลผลิตปลอดภัยปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ มีผลทำให้สุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง Food Quality ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงเช่นเดียวกับอาหารอินทรีย์ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) ความท้าทายของกระแสโลก ทำให้ต้องปรับวิธีคิดการผลิตการเกษตร เพื่อสร้างอาหารเลี้ยงมนุษย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1.1) การเสื่อมของดินจากกิจกรรมของมนุษย์ 1.2) น้ำขาดแคลนและแหล่งน้ำเกิดมลพิษ มีเชื้อโรค จากการเกษตรเคมี และอุตสาหกรรม 1.3) ภาวะโรคร้อน 1.4) ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง 1.5) แหล่งพลังงานจากฟอสซิลไกล้หมด บทบาทการเลี้ยงสัตว์ในโลกต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง สัตว์เป็นตัวใช้ทรัพยากร มนุษย์มีความต้องการอาหารผลิตภัณฑ์จากสัตว์เพิ่มขึ้น หากมีการจัดการที่ดีปศุสัตว์จะเป็นสิ่งส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ความอุดมสมบรูณ์ของดิน ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 2) ระบบการเลี้ยงสัตว์ผสมผสานการปลูกพืช จะมีบทบาทสำคัญในการผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและเป็นเกษตรกรรายย่อย การเลี้ยงสัตว์เป็นความจำเป็นต่อวิถีชีวิตของคนจน เนื่องจากมีข้อจำกัดคือมีพื้นที่ถือครองน้อย ทรัพยากรจำกัด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปรับแนวคิดนักวิชาการ นักพัฒนา นักส่งเสริมเพื่อรับกับกระแสโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ( เรียบเรียงจาก Why the need to change the mind set หนังสือ Livestock and Wealth Creation) จำเป็นต้องปรับปรุงการจัดการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรรายย่อยให้มีประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น โดย 2.1 ต้องมีการ” เขียนตำราการเลี้ยงสัตว์ใหม่” เรื่องวิธีการปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรรายย่อย ซึ่งปกติมีแต่ตำราที่เป็นการผลิตเชิงเดี่ยวจากการทำฟาร์มแบบตะวันตก ยังไม่มีตำราเกี่ยวกับการเกษตรองค์รวม ซึ่งหากเกษตรกรพัฒนาการเลี้ยงสัตว์จะเป็นการเพิ่มรายได้และแก้ปัญหาความยากจน 2.2 ให้คุณค่า” การยอมรับทางวิชาการ” ในการศึกษาวิธีการที่จะปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรรายย่อย ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง ลองผิดลองถูกจนเห็นผลเชิงประจักษ์ ซึ่งบางอย่างวิทยาศาสตร์เชิงเดี่ยวไม่สามารถพิสูจน์ได้ มีความซับซ้อนของธรรมชาติที่มนุษย์เรียนรู้ไม่หมดต้องมีการศึกษาตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง เพื่อสร้างความอยู่ดีกินดีและลดปัญหาความยากจนในชนบท 2.3 ให้ความสำคัญ” กระบวนการมีส่วนร่วม” ในการวิจัยและพัฒนา เช่นการให้เกษตรกรและผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียกำหนดแผนชุมชนในการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ของชุมชน เช่น กรณีการเลี้ยงหมูหลุม การทำเกษตรอินทรีย์ องค์ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านมีมากมายกระจัดกระจาย นักวิชาการจำเป็นต้องนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปสนับสนุนต่อยอดให้เกิดเป็นนวัตกรรม ซึ่งเป็นการปฏิรูปแนวคิดการทำงานของนักวิชากาในยุคใหม่ ”การจัดการความรู้” โดยกระบวนการวิจัย เพื่อท้องถิ่นซึ่งรวมทั้งการสร้างความรู้และการถ่ายทอดความรู้ การเผยแพร่ความรู้ เป็นต้น 2.4 การปรับเปลี่ยนแนวคิด “การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม” ไม่แยกตามกิจกรรมตามภารกิจของหน่วยงาน เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของระบบการเกษตรผสมผสาน การปรับปรุงการจัดการเลี้ยงสัตว์จะมีผลกระทบต่อทั้งระบบ ดังนั้นจากแนวโน้มกระแสโลกที่เกิดขึ้น เกษตรกรรายย่อยจะอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และพัฒนาใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตแบบผสมผสานทำให้มีผลผลิตหลายอย่างออกสู่ตลาด ลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชและตลาดต่างประเทศ 3. การส่งเสริมสนับสนุนควรทำครบวงจร ตั้งแต่ ความต้องการเนื้อสุกรของชุมชน ปัจจัยการผลิต ได้แก่ พันธุ์ อาหารสัตว์ สารธรรมชาติจากการหมักจุลินทรีย์ สมุนไพร ระบบการผลิต การแปรรูปโรงฆ่าขนาดที่พอเหมาะและเหมาะสมกับวัฒนธรรมการบริโภคในท้องถิ่น การจัดการตลาดควรเป็นการบริโภคในท้องถิ่น รวมทั้งกระบวนการกลุ่ม เพื่อเชื่อมโยงการสนับสนุนปัจจัยการผลิตในชุมชน เช่นการปลูกพืช ข้าวและโรงสีชุมชน ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จในการปฏิบัติ เป็นต้น ความรู้การเลี้ยงหมูหลุม มีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากทุกขั้นตอน ดังนั้น กรมปศุสัตว์ควรเสริมสร้างศักยภาพของนักวิชาการและนักส่งเสริม ในด้านแนวทางการพัฒนาโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นการสร้างความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการปฏิบัติจริง แทนการอบรมแบบเดิมซึ่งเกษตรไม่นำไปปฏิบัติ โดยกระบวนการวิจัยจะอยู่ในเนื้องานปกติของนักพัฒนานั่นเอง -ที่มา;ptg2552.com โคเนื้อ > โคเนื้อกำแพงแสน เลี้ยงง่าย โตเร็ว ตลาดไม่ตัน “เนื่องจากประกอบธุรกิจลานมันเป็นอาชีพหลัก จึงมีความคิดว่ามันสำปะหลังที่มีอยู่น่าจะนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ และโดยปกติเราใช้เป็นอาหารสัตว์อยู่แล้ว หากเลี้ยงโคขุนเป็นอาชีพเสริมโดยใช้วัตถุดิบที่มีอย ก็น่าจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมันสำปะหลังและยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่งด้วย” นั่นคือคำพูดของ คุณสุกิจ วรรณปิยรัตน์ เจ้าของฟาร์มโคเนื้อ “วัฒนกิจฟาร์ม” ซึ่งเป็นฟาร์มโคขุนที่มากด้วย ประสบการณ์เลี้ยงโคกว่า 20 ปี เป็นฟาร์มที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนเป็นสายพันธุ์หลัก เนื่องจากเป็นโคเนื้อที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยการนำโคลูกผสมพันธุ์พื้นเมืองของไทยผสมกับโคเนื้อสายพันธุ์อเมริกันบราห์มัน เลือด 50:50 แล้วนำมาผสมกับโคเนื้อสายพันธุ์ชาโรเลห์ กลายเป็นโคลูกผสมสามสายเลือด ทีมงานสัตว์เศรษฐกิจ ได้มีโอกาสเดินทางไปที่จังหวัดชัยนาท เพื่อเข้าเยี่ยมชมฟาร์มโคเนื้อของ คุณสุกิจ วรรณปิยรัตน์ ตั้งอยู่ เลขที่ 78 หมู่ 5 ตำบลสุกเดือนห้า กิ่งอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท โทรศัพท์ 01-8581944 โดยมีคุณสุกิจคอยให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ก้าวแรกของการเข้าสัมผัสบริเวณภายในฟาร์ม สังเกตเห็นพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นลานมัน เนื่องจากคุณสุ-กิจรับซื้อมันสำปะหลังเป็นอาชีพหลัก แต่ด้วยความที่มีพื้นที่กว้างขวาง จึงแบ่งโซนไว้เพื่อทำฟาร์มเลี้ยงโคอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กัน ประมาณ 200 ไร่ จัดทำเป็นโรงเรือนสำหรับเลี้ยงโค และโรงอาหารสำหรับใช้ในการเก็บอาหารและผสมอาหาร โดยโรงเรือนเลี้ยงโคสร้างด้วยเสาเหล็กและมุงหลังคาด้วยกระเบื้องอย่างแข็งแรง ขนาดความยาวประมาณ 60 เมตร กว้าง ประมาณ 10 เมตร แบ่งคอกย่อยเป็นล็อกๆ กว้าง ประมาณ 4 เมตร ยาว 10 เมตร ทำการปล่อยโคลงเป็นรุ่นๆ ตามขนาดและอายุของโค มีทั้งหมด 4 โรงเรือน แบ่งเป็นโรงเรือนโคแม่พันธุ์-พ่อพันธุ์ โรงเรือนโครุ่นหลังหย่านม และโรงเรือนโคขุน ส่วนโรงอาหารสร้างอยู่ในบริเวณใกล้กันโดยสร้างด้วยเสาไม้และมุงหลังคาสังกะสี กั้นเป็นช่องด้วยกำแพงคอนกรีต ขนาดความกว้างประมาณ 3 เมตร ยาว 5 เมตรจำนวน 5 ช่อง แบ่งไว้สำหรับใช้เก็บวัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารที่ผสมเรียบร้อยแล้ว เพื่อเตรียมไปใช้สำหรับเลี้ยงโค คุณสุกิจเล่าให้ฟังว่าเคยทำไร่อ้อยมาก่อน จากนั้นได้เปลี่ยนมาประกอบธุรกิจลานมัน รับซื้อมันสำปะหลังจากเกษตรกร และจุดนี้เองที่เห็นว่ามันที่รับซื้อมามีจำนวนมาก น่านำมาเพิ่มมูลค่าได้ โดยเห็นว่าปกติเราใช้มันสำปะหลังมาแปรรูปเป็นอาหารเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว หากนำมาเลี้ยงโคเนื้อก็น่าจะเกิด้ประโยชน์ อีกทั้งยังมองว่าการเลี้ยงโคเนื้อน่าจะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากรายได้ปัจจุบัน ส่วนสาเหตุที่เลือกเลี้ยงโคเนื้อเนื่องจากมองว่าการเลี้ยงโคเนื้อมีค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือนและการจัดการน้อยกว่าการเลี้ยงไก่ และสุกร การป้องกันโรคและการดูแลก็ไม่ยุ่งยากนัก แต่หากเลี้ยงโคเนื้อยังพอมีประสบการณ์อยู่บ้าง และจะสามารถใช้วัตถุดิบที่มีอยู่เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงโคได้อีกด้วย “ในระยะแรกได้ซื้อโคเนื้อพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ลูกผสมบราห์มันจากเกษตรกรและตามตลาดนัดโค-กระบือ ในเขตจังหวัดชัยนาทมาเลี้ยง ประมาณ 30 กว่าตัว อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี คละเพศ มีทั้งโครุ่น และโคแม่พันธุ์ โดยคัดเลือกตัวที่มีความสมบูรณ์เหมาะกับความเป็นโคเนื้อมาเลี้ยง ซึ่งจะดูจากความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อขา เพราะมองว่าโคที่มีกล้ามเนื้อขาใหญ่ จะเป็นโคที่โตเร็ว และเน้นไปที่ลูกผสมชาโรเลห์ หรือลูกผสมบราห์มัน ไม่เน้นโคที่มีสายเลือดพื้นเมืองมากเกินไปเพราะโตช้า” คุณสุกิจเล่าต่อว่า หลังจากเลี้ยงโคเนื้อที่ซื้อมาชุดแรกได้ระยะหนึ่ง โคตัวเมียบางตัวก็เริ่มที่จะผสมพันธุ์ได้ ทางฟาร์มจึงได้ทำการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนโค โดยการนำน้ำเชื้อของโคสายพันธุ์ชาโรเลห์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มาทำการผสมเทียม ซึ่งหลังจากที่ผสมเทียมแล้วได้ลูกโคสามสายเลือด ซึ่งประกอบด้วยชาโลเลห์ 50% พื้นเมือง 25% และบราห์มัน 25% มีลักษณะคล้ายกับโคพันธุ์ชาโรเลห์ ลำตัวสีเหลืองครีม มีความสมบูรณ์พันธุ์ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบอัตราการขุนกับลูกผสมบราห์มันพบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีกว่า เร็วกว่า และกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด จึงได้ขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนเรื่อยมา จนปัจจุบันในฟาร์มมีโคทั้งหมดประมาณ 200 กว่าตัว เป็นแม่พันธุ์ประมาณ 100 ตัว เป็นพ่อพันธุ์ 3 ตัว พันธุ์กำแพง แสนทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะเป็นโครุ่นและโคขุน โดยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงประมาณ 20 กว่าปี “จุดเด่นของโคกำแพงแสนคือเป็นโคที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว มีอัตราการแลกเนื้อดีกว่าโคลูกผสมบราห์มัน ทำให้สามารถผลิตส่งตลาดได้เร็วกว่า และเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าอีกด้วย ตลอดเวลาช่วงการขุนโคกำแพงแสนจะไม่มีการหยุดชะงักการเจริญเติบโต สามารถเลี้ยงตั้งแต่เป็นลูกโคจนถึงจับขายได้เลย แต่หากเป็นโคลูกผสมบราห์มันจะมีจุดชะงักการเจริญเติบโต เช่นในช่วงน้ำหนักประมาณ 300 กว่ากิโลกรัม การเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก ตัวจะอ้วนกลมขึ้น แต่โคพันธุ์กำแพงแสนการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อสามารถ ไปได้เรื่อยๆ จนถึง 550-600 กิโลกรัม” คุณสุกิจกล่าวยืนยัน คุณสุกิจเล่าต่อว่าทางฟาร์มจะคัดเลือกลูกโคที่เป็นผลผลิตจากฟาร์มที่มีลักษณะดีไว้ เพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ มีเกณฑ์ในการคัดเลือกโดยดูจากลักษณะของโครงสร้างกล้ามเนื้อ และอัตราการเจริญเติบโตเป็นหลัก ขาและลำแข้งต้องตรงและโตเหมาะสมกับลำตัว ขาไม่เตี้ยสั้นผิดปกติ ลำ-ตัวยาว โคตัวผู้ที่จะใช้เป็นพ่อพันธุ์ต้องมีอัณฑะที่สมบูรณ์ทั้ง 2 ข้าง ใหญ่โตเสมอกัน ลึงค์ต้องไม่หย่อนยานจนเกินไป ซึ่งโดยปกติโคเนื้อที่มีลักษณะโครงสร้างของกล้ามเนื้อดีก็จะทำให้มีอัตราการเจริญที่ดีด้วย ทางฟาร์มจะเริ่มผสมพันธุ์แม่โคที่อายุ 2 ปี โดยจะใช้โคตัวผู้ปล่อยในฝูงช่วยในการเช็คสัด ซึ่งการปล่อยให้โคตัวผู้อยู่รวมในฝูงโคตัวเมียจะทำให้เราสามารถทราบว่าโคตัวไหนเป็นสัดได้ค่อนข้างจะแม่นยำอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากการแสดงอาการเป็นสัดของโคตัวเมีย ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าโคตัวนั้นพร้อมและยินยอมที่จะรับการผสมพันธุ์ ปกติการแสดงอาการเป็นสัดของโคจะอยู่ในระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 24 ชั่วโมง และหากโคเป็นสัดแล้วไม่ได้รับการผสม ก็จะกลับมาแสดงอาการเป็นสัดอีกภายใน 21 วันโดยเฉลี่ย ซึ่งเมื่อเราได้โคแม่พันธุ์ที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์แล้ว เราจะนำแม่พันธุ์มาแยกเลี้ยงจากตัวอื่นเพื่อเตรียมรับการผสม โดยทางฟาร์มจะใช้วิธีการผสมพันธุ์แบบผสมจริง คือการให้โคพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะดีตามเกณฑ์ที่มีอยู่ในฟาร์มขึ้นทับโคตัวเมียที่แสดงอาการเป็นสัด และส่วนหนึ่งจะใช้วิธีผสมเทียมสลับกัน เพื่อไม่ให้พ่อพันธุ์เสื่อมประสิทธิภาพเร็วเกินไป โดยน้ำเชื้อที่ทางฟาร์มนำมาใช้จะได้มาจากกรมปศุสัตว์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน หลังจากโคได้รับการผสมแล้วจะใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 283 วัน เมื่อลูกโคคลอดออกมาแล้วเราจะให้ลูกโคได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่ ซึ่งปกติลูกโคควรจะได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วง 24 ชั่วโมงแรกเกิด เพื่อที่จะได้รับภูมิ- คุ้มกันจากแม่ที่ถ่ายทอดให้กับลูกได้ และเมื่อลูกโคมีอายุครบ 5 เดือนจึงจะเริ่มหย่านม และจะเริ่มทำวัคซีนเข็มแรก ซึ่งในการทำวัคซีนนั้น จะต้องทำให้เหมาะสมกับช่วงอายุของสัตว์ และทำตามกำหนดเวลาเป็นประจำ เพื่อให้สัตว์มีระดับภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงอยู่เสมอ ซึ่งสัตว์จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการสร้างภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีน ทั้งนี้ การสร้างภูมิคุ้มกันให้ได้ผลดีนั้น สัตว์จะต้องมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ และได้รับอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งการทำวัคซีนจะต้องทำซ้ำทุกๆ 3 เดือนเพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยวัคซีนที่ทำจะเป็นวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยเพียงอย่างเดียง โดยดำเนินการไปพร้อมกับการถ่ายพยาธิ สำหรับอาหารที่ให้ก็จะเป็นอาหารข้น และให้อาหารหยาบผสมเพิ่มลงไป โดยมีอัตราส่วนในการให้ประมาณ 2-3% ของน้ำหนักตัว ซึ่งจะแบ่งให้เป็น 3 เวลา อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงโคในฟาร์มจะเป็นอาหารที่ผสมเองทั้งหมด ทางฟาร์มจะใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลังที่มีอยู่ในลานมันมาผสมกับแหล่งโปรตีนที่ได้จาก กากงา กากนุ่น ส่วนแร่ธาตุเราจะผสมไดแคลเซี่ยมลงไป 10% พร้อมกับพรีมิกซ์ หากเป็นอาหารโครุ่นจะเสริมกากงาเพิ่มลงไปเพื่อเพิ่มโปรตีนทำให้โคมีการเจริญเติบโตเร็วขึ้น ทั้งนี้ทางฟาร์มจะให้อาหารหยาบเช่น ฟางข้าว หญ้าหมักเสริมไปด้วย และเมื่อโคมีน้ำหนัก ประมาณ 300 กิโลกรัมขึ้นไป จะเริ่มขุนโคโดยให้อาหารเต็มที่อีกประมาณ 10 เดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยโคจะต้องมีน้ำหนักเพิ่มเดือนละประมาณ 25 กิโลกรัม และเมื่อโคขุนได้น้ำหนักประมาณ 550 กิโลกรัม หรือที่อายุประมาณ 20 เดือน ก็จะคัดขาย โดยส่วนใหญ่จะคัดขายเฉพาะโคตัวผู้ ส่วนโคตัวเมียจะคัดเลือกตัวที่มีลักษณะและมีอัตราการเจริญเติบโตดีไว้เป็นแม่พันธุ์ต่อไป ในส่วนของโคแม่ พันธุ์ทางฟาร์มจะเลี้ยงแบบธรรมชาติ คือปล่อยแปลงหญ้าเพื่อให้โคได้แทะเล็มหญ้าอาหารสัตว์ที่ปลูกไว้อย่างเต็มที่ โดยทางฟาร์มจะปลูกถั่วฮามาต้า และหญ้าซาตากัสไว้ในแปลง เนื่องจากทั้งสองชนิดนี้มีความทนทานต่อการเหยียบย่ำของโค และจะเสริมอาหารข้นให้เฉพาะในฤดูแล้งเท่านั้น สำหรับโคอุ้มท้องหรือโคเลี้ยงลูกก็จะให้เช่นเดียวกัน ในส่วนของโคขุนและโครุ่นจะเลี้ยงแบบยืนโรงให้อาหารในรางอาหารที่เตรียมไว้ ซึ่งบางครั้งมักจะมีปัญหาเรื่องข้อขา และกีบเท้าบ้าง จึงจำเป็นต้องให้อาหารแก่โคอย่างเพียงพอเพื่อที่จะไปเสริมสร้างในส่วนของกล้ามเนื้อข้อขา สำหรับราคาที่ขายกันอยู่ในปัจจุบันกิโลกรัมละ 108 บาท ทางฟาร์มจะขายที่สหกรณ์โคเนื้อของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหลัก จะมีขายให้กับพ่อค้ารายย่อยบ้างในบางครั้ง ซึ่งต้นทุนการผลิตในแต่ละตัวจะไม่เท่ากันเนื่องจากโคมีขนาดต่างกัน บางตัวเล็ก บางตัวใหญ่ ทำให้โคแต่ละตัวกินอาหารไม่เท่ากัน “แนวโน้มการตลาดโคเนื้อในอนาคตก็ยังคงไปได้ดี เนื่องจากยังมีผู้ที่บริโภคเนื้อโคกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันก็มีไม่เพียงพออยู่แล้ว และเกษตรกรยังคงต้องการเลี้ยงโคขุนกันเยอะ ซึ่งโคขุนที่มีสายพันธุ์ชาโลเลห์ หรือพันธุ์กำแพงแสนก็ยังเป็นที่สนใจของเกษตรกร แต่ในบางครั้งก็มีปัญหาบ้าง เนื่องจากโคที่เลี้ยงโตไม่เท่ากัน หรือบางครั้งก็มีปัญหาโคล้นตลาดบ้าง ซึ่งมักเป็นไปตามวงรอบและกลไกของตลาด และปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ธุรกิจการเลี้ยงโคเนื้อยังจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับระบบของรัฐ เช่น กรณีการเคลื่อนย้ายโคมีขั้นตอนมากมาย เพื่อป้องกันปัญหาโรคระบาด และการควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคที่อาจแฝงตัวมาจากโคที่กำลังเคลื่อนย้าย ทำให้เกิดการล่าช้าในการขนส่งให้แก่ลูกค้า และในส่วนของเรื่องตลาดนัดค้าโค กระบือ ควรจะจัดให้เป็นระบบมากขึ้นเพราะหากไม่เป็นระบบอาจมีการแพร่ระบาดของโรคได้ง่าย” คุณสุกิจกล่าว สุดท้ายคุณสุกิจ ได้ฝากถึงผู้ที่เลี้ยงโคเนื้อและผู้ที่คิดจะเริ่มเลี้ยงโคเนื้อ ว่า ผู้ที่จะเลี้ยงโคเนื้อในระยะแรกควรศึกษาในเรื่องการลงทุนให้ดี และควรเริ่มจากเงินลงทุนที่ต่ำๆ ก่อน อย่าเพิ่งเริ่มใช้เงินลงทุนที่สูง และอย่าไปมองแต่แม่พันธุ์ที่มีราคาสูง ควรจะต้องมองว่าโคเนื้อคืออะไร และเมื่อเลี้ยงไปแล้วต้องการขายอะไร ทั้งนี้ โคเนื้อกำแพงแสนถือว่ามีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว แต่ยังไม่ชัดเจนในเรื่องการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์คุณภาพดี เพื่อมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าจะไปเลือกที่ตรงไหน เพราะทุกคนบอกว่าพ่อแม่พันธุ์ที่ดีต้องมีลักษณะอ้วนๆ แต่ไม่ได้มีการทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ ดีแค่ไหน เพราะหากเราคัดเลือกพ่อพันธุ์เอง บางตัวใช้งานได้ 10 ครั้ง บางตัวได้ 2 ครั้ง ไม่มีความแน่นอนเนื่องจากไม่ได้มีการทดสอบสายพันธุ์ แต่หากมีการทดสอบว่าตัวไหนมี ประสิทธิภาพที่ดี มีอัตราการเจริญเติบโตดี มีประสิทธิภาพของน้ำเชื้อดี เราก็สามารถไปซื้อมาใช้ได้เลยโดยไม่ต้องมาทดสอบเอง ทั้งนี้ผู้ที่จะเลี้ยงโคเนื้อจะต้องมีใจรักการเลี้ยงสัตว์ มีความขยัน อดทน ไม่ท้อแท้เมื่อเกิดปัญหา หมั่นแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอเพื่อที่จะนำมาปรับใช้ในฟาร์ม และที่สำคัญต้องมีเวลาดูแลและคลุกคลีกับโคในฟาร์มอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ทราบถึงปัญหา และหาทางแก้ไขได้ถูกต้องและทันท่วงที จาก ทีมงานสัตว์เศรษฐกิจ -ที่มา;jobpob.com |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น